103.6.8.31 - การสืบค้น IP: การสืบค้นที่อยู่ IP ฟรี, การสืบค้นรหัสไปรษณีย์, การสืบค้นตำแหน่ง IP, IP ASN, IP สาธารณะ
ประเทศ/ภูมิภาค:
รัฐ/จังหวัด:
เมือง:
ละติจูดและลองจิจูด:
โซนเวลาท้องถิ่น:
รหัสไปรษณีย์:
ข้อมูล IP ภายใต้ไลบรารีความละเอียด IP ต่างๆ
ip-api
ประเทศ/ภูมิภาค
รัฐ/จังหวัด
เมือง
ASN
โซนเวลาท้องถิ่น
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
บัญชีดำ
พร็อกซีไอพี
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
Route
Luminati
ประเทศ/ภูมิภาค
ASN
โซนเวลาท้องถิ่น
Asia/Phnom_Penh
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
Telecom Cambodia
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
IPinfo
ประเทศ/ภูมิภาค
รัฐ/จังหวัด
เมือง
ASN
โซนเวลาท้องถิ่น
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
บัญชีดำ
พร็อกซีไอพี
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
Route
IP2Location
103.6.8.31ประเทศ/ภูมิภาค
รัฐ/จังหวัด
siem reab
เมือง
siem reap
โซนเวลาท้องถิ่น
Asia/Phnom_Penh
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
ภาษา
User-Agent
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
db-ip
ประเทศ/ภูมิภาค
รัฐ/จังหวัด
เมือง
ASN
โซนเวลาท้องถิ่น
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
บัญชีดำ
พร็อกซีไอพี
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
Route
ipdata
ประเทศ/ภูมิภาค
รัฐ/จังหวัด
เมือง
ASN
โซนเวลาท้องถิ่น
ผู้ให้บริการดำเนินการเครือข่าย
บัญชีดำ
พร็อกซีไอพี
ละติจูด
ลองจิจูด
รหัสไปรษณีย์
Route
สถานที่และกิจกรรมยอดนิยมใกล้ที่อยู่ IP นี้
นครวัด
ศาสนสถานที่ผสมผสานกันระหว่างพุทธและฮินดูในประเทศกัมพูชา
ระยะทาง: ประมาณ 5419 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.4125,103.86694444
นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อน ๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือเป็นจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่ของนักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่น ๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม เช่น ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก นครวัดและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงในจังหวัดเสียมราฐขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกในนาม "เมืองพระนคร (อังกอร์)" ใน ค.ศ.
จังหวัดเสียมราฐ
ระยะทาง: ประมาณ 1859 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.35,103.85
เสียมราฐ หรือ เซียมเรียบ (เขมร: សៀមរាប) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง
นครธม
ระยะทาง: ประมาณ 8592 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.4433026,103.8596821
นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7: 378–382 : 170 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในนครมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ และที่สร้างขึ้นต่อโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า "ปราสาทบายน" ซึ่งยังประกอบด้วยกลุ่มปราสาทและลานกลางแจ้งขนาดใหญ่โดยรอบ
ปราสาทปักษีจำกรุง
ระยะทาง: ประมาณ 6584 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.4253122,103.8581318
ปราสาทปักษีจำกรุง (เขมร: ប្រាសាទបក្សីចាំក្រុង บฺราสาทบกฺสีจำกฺรุง) เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก สร้างขึ้นเป็นเทวาลัย ถวายแด่พระศิวะ ปราสาทแห่งนี้เคยมีเทวรูปพระศิวะทองคำประดิษฐานอยู่ด้วย ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านซ้ายของนครธมเมื่อเข้าทางประตูด้านใต้ สร้างโดยพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 เพื่ออุทิศถวายพระเจ้ายโศวรมัน ผู้เป็นพระบิดา: 114 : 70, 75 การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรรมันที่ 2 (ค.ศ.
ปราสาทบายน
ระยะทาง: ประมาณ 8364 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.441341,103.858867
ปราสาทบายน (เขมร: ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 12 หรือต้นศตวรรษที่ 13 เป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลังจากที่พระองค์ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปาออกจากอาณาจักรเขมรได้สำเร็จ นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้ายิ้มหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า
อาณาจักรพระนคร
จักรวรรดิที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 802–1431 ในภูมิเอเชียตะออกเฉียงใต้
ระยะทาง: ประมาณ 7634 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.43333333,103.83333333
อาณาจักรพระนคร (เขมร: ចក្រភពអង្គរ จกฺรภพองฺคร) หรือ อาณาจักรเขมร (เขมร: ចក្រភពខ្មែរ จกฺรภพขฺแมร) บ้างเรียก อาณาจักรขอม เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกประเทศกัมพูชาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9–15 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เป็นจักรวรรดิพุทธ-ฮินดูอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จักรวรรดิแห่งนี้วิวัฒนาการขึ้นจากอารยธรรมโบราณที่เรียกฟูนันและเจนละซึ่งปกครองหรือเป็นเจ้าประเทศราชอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดินส่วนใหญ่ ตลอดจนบางส่วนของจีนตอนใต้ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ปลายคาบสมุทรอินโดจีนไปทางเหนือจนถึงมณฑลยูนนานในประเทศจีนปัจจุบัน และทางตะวันตกจากประเทศเวียดนามไปจนถึงประเทศเมียนมา ตามขนบแล้ว อาณาจักรพระนครเริ่มต้นใน ค.ศ. 802 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประกาศพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่พนมกุเลน และสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรอยุธยาเข้ายึดเมืองพระนครใน ค.ศ.
เมืองพระนคร
เมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร
ระยะทาง: ประมาณ 5408 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.4125,103.866667
พระนคร หรือชื่อในภาษาเขมรปัจจุบันเรียก อังกอร์ (เขมร: អង្គរ องฺคร; อังกฤษ: Angkor; จากภาษาสันสกฤต นคร nagara) เป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของจักรวรรดิเขมร มีชื่อดั้งเดิมตามจารึกว่า ศรียโศธรปุระ (ស្រីយសោធរបុរៈ สฺรียโสธรบุระ̤) มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทพนมบาแคง (ប្រាសាទភ្នំបាខែង บฺราสาทภฺนํบาแขง) ปัจจุบันอยู่ในเขตเสียมเรียบ (ខេត្សៀមរាប เขตฺเสียมราบ) ของประเทศกัมพูชา ภายหลังย้ายศูนย์กลางไปยังปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន บฺราสาทบายัน) ในพื้นที่ที่เรียกว่า "นครธม" (អង្គរធំ องฺครธํ; "นครใหญ่") ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตเสียมเรียบเช่นกันและทับซ้อนกับพื้นที่ศรียโศธรปุระเดิม ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์กัมพูชาซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ ณ เมืองพระนครนี้เรียกว่า สมัยพระนคร (Angkorian period) เริ่มในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อพระเจ้ายโศวรรมันที่ 1 (យសោវរ្ម័នទី១ ยโสวรฺมันที ๑) ทรงสถาปนาศรียโศธรปุระขึ้น แต่นักวิชาการบางคนก็นับช่วงก่อนหน้านี้เข้าด้วย คือ ตั้งแต่ ค.ศ. 802 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9) เมื่อพระเจ้าชัยวรรมันที่ 2 (ជ័យវរ្ម័នទី២ ชัยวรฺมันที ๒) ทรงรับการอภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ณ พนมกุเลน (ភ្នំគូលេន ภฺนํคูเลน; "ภูเขาลิ้นจี่") และทรงสถาปนาเมืองหลวงแห่งแรกขึ้น คือ หริหราลัย (ហរិហរាល័យ) ดำเนินมาจนกระทั่งเจ้าพระยาญาติ (ចៅពញាយ៉ាត เจาพญาย̎าต) ทรงละทิ้งนครธมไปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นอันสิ้นสุดสมัยพระนคร ช่วงเวลาหลังจากนี้เรียกว่า สมัยหลังพระนคร (post-Angkorian period) ส่วนก่อนหน้าเรียกว่า สมัยก่อนพระนคร (pre-Angkorian period) อันเป็นช่วงที่ประกอบด้วยรัฐน้อยใหญ่ต่าง ๆ เช่น ฟูนัน และเจนละ เวลาผ่านไป เมืองพระนครกลายเป็นซากปรักหักพังอยู่ในป่ารก ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของทะเลสาบเขมร (ទន្លេសាប ทนฺเลสาบ) และตอนใต้ของพนมกุเลน ใกล้กับกรุงเสียมเรียบ (ក្រុងសៀមរាប กฺรุงเสียมราบ) เมืองเอกของเขตเสียมเรียบ โบราณสถานพระนครมีศาสนสถานกว่าหนึ่งพันแห่ง ถือเป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในจำนวนนี้รวมถึงนครวัด (អង្គរវត្ องฺครวตฺ) ที่พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 (សូរ្យវរ្ម័នទី២ สูรฺยวรฺมันที ๒) ทรงสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ศาสนสถานหลายแห่งได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ และนับเป็นสถานที่สำคัญที่สุดในทางสถาปัตยกรรมเขมร ได้รับความคุ้มครองในฐานะแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก (UNESCO World Heritage Site) แต่ละปีมีผู้เยี่ยมชมราวสองล้านคน แต่ความนิยมนี้เองทำให้เกิดข้อยากหลายประการในการอนุรักษ์ ใน ค.ศ. 2007 คณะนักวิจัยระหว่างประเทศใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและวิทยาการสมัยใหม่แขนงอื่น ๆ จนได้ข้อสรุปว่า เมืองพระนครเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม มีระบบโครงสร้างพื้นฐานอันสลับซับซ้อนซึ่งเชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของเมืองเข้ากับศาสนสถานทั้งหลาย รวมแล้วเป็นพื้นที่อย่างน้อย 1,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ เมืองพระนครยังนับเป็นนครไฮดรอลิก (hydraulic city) เพราะมีเครือข่ายบริหารจัดการน้ำที่ซับซ้อนสำหรับเก็บและกระจายน้ำอย่างเป็นระบบในทุกพื้นที่ ระบบน้ำนี้ยังเชื่อว่า ใช้สำหรับชลประทาน ใช้เตรียมรับมือฤดูแล้งที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือการคาดการณ์ และใช้สนับสนุนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จำนวนประชากรที่แน่ชัดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ระบบทางเกษตรกรรมที่ค้นพบใหม่ในพื้นที่นี้นำไปสู่สมมุติฐานว่า อาจมีมนุษย์อาศัยอยู่ถึงหนึ่งล้านคน คิดเป็นอย่างน้อย 0.1% ของประชากรทั่วโลกในช่วง ค.ศ.
ปราสาทบาปวน
ระยะทาง: ประมาณ 8585 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.443611,103.855833
ปราสาทบาปวน (อังกฤษ: Baphuon, เขมร: ប្រាសាទបាពួន) เป็นปราสาทขอมแห่งหนึ่งใน เมืองพระนคร สร้างขึ้นในยุคพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1550 - 1600) ตั้งอยู่ในเมืองยโสธรปุระ ทางด้านทิศใต้ของปราสาทนครวัดประมาณ 30 กิโลเมตร ปราสาทบาปวนมีลักษณะเป็นรูปทรงพีระมิด มีฐานเป็นชั้น ๆ ส่วนบนสุด เป็นปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของตัวปราสาทประธานมียอดเรียวแหลม คล้ายกับปราสาทพนมรุ้ง มีระเบียงคตถึงสามชั้นที่เชื่อมต่อกันได้ตลอด โคปุระขนาดใหญ่สุด อยู่ทางด้านทิศตะวันออก เครื่องบนของโคปุระ ทำด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ซึ่งผุผังไปตามกาลเวลา โดยมีร่องรอยของการเจาะคานไว้บนหน้าบัวของโคปุระ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานของศิวลึงค์ทองคำ สัญลักษณ์แทนพระศิวะ แต่ได้สูญหายไปนานแล้ว ปราสาทบาปวนจัดได้ว่าเป็นต้นแบบของศิลปะแบบบาปวนโดยแท้จริง และเป็นศิลปะร่วมแบบเขมรของปราสาทในประเทศไทยหลายแห่งด้วยกัน ซึ่งลักษณะเด่นของศิลปะสมัยนี้ ได้แก่ ภาพสลักเล่าเรื่องทำเป็นช่องเล็ก ๆ ต่อเนื่องกันลงมาในแนวดิ่ง แต่ในสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเข้ามาแทนที่ในศาสนาพราหมณ์ ปราสาทบาปวนถูกรื้อลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อนำไปสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านหลังปราสาท ร่องรอยต่าง ๆ ถูกโกลนเพื่อให้เข้ากับลักษณะของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ทำการรื้อและสำรวจทำหมายเลขกันใหม่ จนกระทั่งมาถึงยุคเขมรแดง เอกสารแผนผังการจัดทำการบูรณะปราสาทบาปวนถูกเผาทำลายจนราบเรียบ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ปราสาทบาปวนได้ถูกบูรณะอีกครั้งโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จและมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.
เสียมราฐ (เมือง)
ระยะทาง: ประมาณ 1165 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.36222222,103.85972222
เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เซียมเรียบ (เขมร: សៀមរាប) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพูชา
โรงพยาบาลเด็กอังกอร์
ระยะทาง: ประมาณ 1169 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.3581,103.8562
โรงพยาบาลเด็กอังกอร์ (อังกฤษ: Angkor Hospital for Children; อักษรย่อ: AHC) เป็นโรงพยาบาลและองค์การบริการสุขภาพกุมารเวชศาสตร์อิสระที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ในเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งโรงพยาบาลเด็กอังกอร์ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.
พระตำหนักเสียมราฐ
ระยะทาง: ประมาณ 1122 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.36166,103.85897
พระตำหนักเสียมราฐ (เขมร: ព្រះរាជដំណាក់) เป็นพระตำหนักที่ตั้งอยู่ที่เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งใช้เป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของกษัตริย์แห่งกัมพูชาเมื่อครั้งเสด็จเยือนเสียมราฐ
พิพิธภัณฑ์อังกอร์พาโนรามา
ระยะทาง: ประมาณ 3534 เมตร
ละติจูดและลองจิจูด: 13.377594,103.8806495
พิพิธภัณฑ์อังกอร์พาโนรามา (อังกฤษ: Angkor Panorama Museum) หรือ พิพิธภัณฑ์สัพวะทัสสะนะอังคะระ (เขมร: សារៈមន្ទីរសព្វទស្សន៍អង្គរ) เป็นพิพิธภัณฑ์ในเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
สภาพอากาศในพื้นที่ซึ่ง IP นี้ตั้งอยู่
ท้องฟ้าแจ่มใส
24 องศาเซลเซียส
24 องศาเซลเซียส
24 องศาเซลเซียส
24 องศาเซลเซียส
1012 hPa
58 %
1012 hPa
1010 hPa
10000 เมตร
1.83 เมตร/วินาที
3.05 เมตร/วินาที
338 ระดับ
7 %